วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)


เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ

เมาส์ (Mouse)


อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คีย์บอร์ด (Keyboard)


เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฮาร์ดดิสก์ (hard disk)


เป็นหน่วยความจำรอง ที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไฟล์งานที่ทำจากโปรแกรมต่าง ๆ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพยนต์ ไฟล์เพลง MP3 เป็นต้น เนื่องจากมีความจุข้อมูล 40-80 กิกะไบต์ ซึ่งถือว่ามากกว่าสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การ์ดแสดงผล (Display Card)

การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

DVD Drive


ดีวีดี ( DVD : Digital Video Disc ) เป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ไดร์ฟดีวีดีจะอ่านแผ่นดีวีดี ซึ่งสามารถอ่านแผ่นซีดีรอมปกติได้ด้วย ซึ่งมีหน้าตาคล้ายแผ่นซีดีรอมธรรมดา แต่มีความจุสูงกว่ามากคือได้ถึง 4.7 จิกะไบต์ต่อด้าน ในขณะที่แผ่นซีดีรอมปกติจุได้เพียง 650 เมกะไบต์ ต่อด้านเท่านั้นไดร์ฟดีวีดี จะใช้แสงเลเซอร์ที่มีความถี่สูงกว่าที่ใช้บนไดร์ฟซีดีรอมมากในการอ่านข้อมูล
การอ่านข้อมูลจากไดร์ฟดีวีดีนั้นถึงจะหมุนด้วยความเร็วที่ต่ำกว่าไดร์ฟซีดีรอม แต่แผ่นดีวีดี นั้นมีความหนาแน่นของข้อมูลมากกว่า ทำให้สามารถอ่านข้อมูลได้มากกว่าในเวลาที่เท่ากัน นอกจากนั้นคุณภาพที่ได้จากแผ่นดีวีดีจะสูงกว่าแผ่นซีดีรอมอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

RAM [ แรม ]


RAM คืออะไร


RAM เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีความสำคัญต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งเพื่อให้กับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ใช้ในการประมวลผล ทำให้การทำงานหรือประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ประเภทของแรมรุ่นต่าง ๆ




DRAM คือ เมโมรี่แบบธรรมดาที่สุด ซึ่งความเร็วขึ้นอยู่กับค่า Access Time หรือเวลาที่ใช้ในการเอาข้อมูลในตำแหน่งที่เราต้องการออกมาให้ มีค่าอยู่ในระดับนาโนวินาที (ns) ยิ่งน้อยยิ่งดี เช่น ชนิด 60 นาโนวินาที เร็วกว่าชนิด 70 นาโนวินาที เป็นต้น รูปร่างของ DRAM เป็น SIMM 8 บิต(Single-in-line Memory Modules) มี 30 ขา DRAM ย่อมาจาก Dynamic Random Access Memory






Fast Page DRAM ปกติแล้วข้อมูลใน DRAM จึงถูกเก็บเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า Page ถ้าเป็น Fast Page DRAM จะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าปกติสองเท่าถ้าข้อมูลที่เข้าถึงครั้งที่แล้ว เป็นข้อมูลที่อยู่ใน Page เดียวกัน Fast Page DRAM เป็นเมโมรี่ SIMM 32 บิตมี 72ขา (Pentium มีดาต้าบัสกว้าง 64 บิตดังนั้นจึงต้องใส่ SIMM ทีละสองแถวเสมอ)


EDO RAM นำข้อมูลขึ้นมาเก็บไว้ใน Buffer ด้วย เพื่อว่า ถ้าการขอข้อมูลครั้งต่อไป เป็นข้อมูลในไบต์ถัดไป จะให้เราได้ทันที EDO RAM จึงเร็วกว่า Fast Page DRAM ประมาณ 10 % ทั้งที่มี Access Time เท่ากัน เพราะโอกาสที่เราจะเอาข้อมูลติด ๆกัน มีค่อนข้างสูง EDO มีทั้งแบบ SIMM 32 บิตมี 72 ขา และ DIMM 64บิตมี 144 ขา คำว่า EDO ย่อมาจาก Extended Data Out

SDRAM เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่เร็วกว่า EDO ประมาณ 25 % เพราะสามารถเรียกข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้เวลาผ่านไปเท่ากับ Access Time ก่อน หรือเรียกได้ว่า ไม่มี Wait State นั่นเอง ความเร็วของ SDRAM จึงไม่ดูที่ Access Time อีกต่อไป แต่ดูจากสัญญาณนาฬิกาที่ โปรเซสเซอร์ติดต่อกับ Ram เช่น66, 100 หรือ 133 MHz เป็นต้น SDRAM เป็นแบบ DIMM 64 บิต มี 168 ขา เวลาซึ้อต้องดูด้วยว่า MHz ตรงกับเครื่องที่เราใช้หรือไม่ SDRAM ย่อมาจาก Synchronous DRAM เพราะทำงาน "sync" กับสัญญาณนาฬิกาบนเมนบอร์ด


SDRAM II (DDR) (Double Data Rate) SDRAM มีขา 184 ขา มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 2 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 2 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล และมีความเร็วมากกว่า SDRAM เช่น ความเร็ว 133 MHz คูณ 2 Pipeline เท่ากับ 266 MHz

RDRAM หรือที่นิยมเรียกว่า RAMBUS มีขา 184 ขา ทำมาเพื่อให้ใช้กับ Pentium4 โดยเฉพาะ(เคยใช้กับ PentiumIII และ Chipset i820 ของ Intel แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟจึงยกเลิกไป) มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipeline จะเท่ากับ 400 MHz เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่มีความเร็วสูงมาก คิดค้นโดยบริษัท Ram bus, Inc. จึงเรียกว่า Ram bus DRAMหรือ RDRAM อาศัยช่องทางที่แคบ แต่มีแบนด์วิทด์สูงในการส่งข้อมูลไปยังโปรเซสเซอร์ ทำให้ความเร็วในการทำงานสูงกว่า SDRAM เป็นสิบเท่า RDRAM เป็นทางเลือกทางเดียวสำหรับเมนบอร์ดที่เร็วระดับหลายร้อยเมกกะเฮิร์ดซ์ มีแรมอีกชนิดหนึ่งที่ออกมาแข่งกับ RDRAM มีชื่อว่า Sync link DRAM ที่เพิ่มความเร็วของ SDRAMด้วยการเพิ่มจำนวน bank เป็น 16 banks แทนที่จะเป็นแค่ 4 banks